ภัยจากการดูโทรทัศน์มากเกินไป

โลกแม้ก้าวไปสู่สังคมสารสนเทศหรืออินเตอร์เน็ต แต่โทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนทุกเพศทุกวัย และด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมที่กระจายไปคู่กับทีวี ยิ่งทำให้ “วัฒนธรรมทีวี” กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชาวโลกไปโดยปริยาย
ปัจจุบันเด็กทั่วโลกต่างเกิด เติบโต และตกอยู่ท่ามกลางวัฒนธรรมทีวีที่ถือเป็นสิ่งแวดล้อมและสื่อการเรียนรู้ของ เด็ก นั่นคือเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลากับการดูโทรทัศน์โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงต่อวัน และอิทธิพลจากการดูทีวีนี้เองได้นำไปสู่ผลกระทบต่อเด็กทั้งด้านบวก และลบ ซึ่ง น.ส.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีข้อมูลจากการวิจัยของบางประเทศ ได้ชี้ให้เห็นความเสี่ยง และปัญหาอันเกิดจากผลกระทบของสื่อทีวีในหลายๆ เรื่อง อาทิ -เรื่องเพศ ประเด็น “เปลือยโป๊ โชว์เซ็กซ์” เป็นเนื้อหาที่เด็กต้องเสี่ยงเจออยู่บ่อยครั้ง งานวิจัยจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นว่า อิทธิพลของทีวีมีผลต่อการบ่มเพาะค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลจากการศึกษาในสหรัฐชี้ว่า วัยรุ่นที่มีความถี่ในการรับสื่อเรื่องเพศสูงในระดับ 90% มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มที่มีความถี่ในการรับสื่อเรื่องเพศต่ำในระ ดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 ถึงสองเท่าตัว ทั้งการรับสื่อที่ยั่วยุทางเพศบ่อยๆ ยังจะส่งผลให้วัยรุ่นพัฒนาความเชื่อ และบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมผิดๆ เกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศ -เรื่องสุขภาพ ทั้ง “อ้วน-ผอม” เป็นอีกความเสี่ยงที่สอดแทรกมากับโฆษณา การดูโทรทัศน์มากเกินไปยังนำไปสู่การบริโภคเกินความจำเป็น ในสหรัฐพบว่า โดยเฉลี่ยเด็กอเมริกันดูโฆษณามากกว่า 20,000 ชิ้น/ปี 60% เป็นโฆษณาอาหารเสริม ลูกอม อาหารที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ส่วนประเทศไทย ดูเหมือนเด็กๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่มาจากทีวีไม่ต่างจากนานาประเทศ ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เมื่อปี 2546 ระบุว่าเด็กดูโทรทัศน์มากถึงวันละ 3-5 ชั่วโมง คนส่วนใหญ่เห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดูโทรทัศน์ ได้แก่ มีการกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบในเรื่องเซ็กซ์ และความรุนแรง ชีวิตถูกบ่มเพาะด้วยความฟุ่มเฟือย โดยโฆษณาทีวีจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่าย แม้ความรู้เกี่ยวกับอิทธิพล และผลกระทบของทีวีที่มีต่อเด็กๆ ได้ชี้ให้เห็นความเสี่ยงและ “ภัยเงียบ” ของทีวีที่มาในหลายลักษณะ กระนั้นท่ามกลางความเสี่ยงที่เด็กต้องเผชิญ การปิดทีวีในยุคที่เด็กถูกโอบล้อมด้วยวัฒนธรรมทีวีคงมิใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญแม้ทีวีจะอาจเป็นสื่อที่ซ่อนภัยร้าย แต่อีกทางหนึ่งหากปฏิวัติวัฒนธรรมทีวีเสียใหม่ให้สร้างสรรค์ ก็สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อการเรียนรู้เด็กได้ไม่น้อย อยู่ที่ว่า ให้ความสำคัญจะปกป้องเด็กๆ จากทีวีด้วยมาตรการหลายรูปแบบ ทั้งในแง่การมีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลกำกับสื่อโทรทัศน์หรือทีวีสำหรับเด็กๆ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกามีกฏหมายของรัฐบาลกลางว่าด้วยการสื่อสารแห่งชาติ ค.ศ.1996 ได้ระบุเอาไว้ว่าหลังจากกฎหมายฉบับนี้มีผลครบสองปีแล้ว ให้มีการผลิตเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า V-chip เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของพ่อแม่ในการควบคุมว่า จะตัดรายการโทรทัศน์ใดจากการเข้าถึงของเด็กๆ ในสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา ต่างมีระบบ Rating ใช้กำหนดมาตรฐานเนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก บวกมาตรการอื่นๆ ในการดูแล พลังนี้จะมีมากหรือเข้มแข็งเพียงใด ก็คงต้องหันกลับมาถามพวกเราที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนในวันนี้ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่การสร้างวัฒนธรรมทีวียุคใหม่ที่ไม่ครอบงำเด็กอย่างที่ ผ่านมา หากแต่เป็นวัฒนธรรมการสื่อสาร ศึกษาและเรียนรู้ เพื่ออนาคตเด็กและอนาคตสังคมไทย |
แบบบ้าน บ้านเช่า บ้าน หอพัก บ้านมือสอง คอนโด ห้องเช่า ลงประกาศ บ้านจัดสรร แบบบ้านชั้นเดียว คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ บ้านเดี่ยว แปลนบ้าน ที่ดิน ประกาศซื้อขาย